ชื่อศูนย์ : บ้านหลังอ้ายหมี

กิจกรรมกับเด็ก และอนุรักษ์ป่า 
รหัสโครงการ: DaLaa 1704MLTV 
รูปแบบค่าย: ค่ายระยะกลาง (2-6เดือน

ต.วังอ่าง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

ระยะเวลาโครงการ : เปิดรับทั้งปี (หยุดเฉพาะปิดเทอม มีนาคม- เมษายน และตุลาคม)

บริบทชุมชน

ชุมชนหลังอ้ายหมีเป็นพื้นที่ที่ล้อมรอบไปด้วยภูเขา และอยู่ในพื้นที่ห่างไกลทางภาคใต้ของประเทศไทย ทางชุมชนต้องการพลังของอาสาสมัครมาช่วยเสริมความเป็นหนึ่งเดียวของธรรมชาติและวิถีชุมชน จุดที่ตั้งของชุมชนหลังอ้ายหมีนั้นเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำชะอวด ดังนั้นในสมาชิกในชุมชนจึงช่วยกันรับผิดชอบที่จะทำให้ป่าต้นน้ำมีความสะอาด เพื่อให้น้ำได้ไหล และเป็นประโยชน์ต่อไป

สมาชิกในชุมชนหลังอ้ายหมีนั้น ได้ต่อสู้กับภาครัฐ เพราะว่าทางภาครัฐต้องการประกาศพื้นที่ส่วนนี้ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ และต้องการไล่คนในชุมชนให้ออกไปจากพื้นที่ นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้คนในชุมชนมีความแข็งแกร่งและสามัคคีกันเป็นหนึ่งเดียว

ปัจจุบันนี้ สมาชิกในชุมชนยังคงมีกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่และดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ในชุมชนยังมีศูนย์การเรียนรู้ที่มีพระเทพฯ ทรงเป็นผู้สนับสนับให้ทรงสร้างขึ้นโดยตำรวจตะเวนชายแดน และทางศูนย์ก็มีการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้เพื่อแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมอีกด้วย

สภาพทั่วไปของชุมชน และที่มาของโครงการ

หลังอ้ายหมีนั้นเป็นชุมชนที่ล้อมรอบด้วยภูเขา อยู่ในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช และตั้งอยู่บนเทือกเขาบรรทัด พื้นที่ชุมชนเป็นป่าต้นน้ำซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำชะอวด แม่น้ำชะอวดนี้ไหลลงไปยังทะเลจีนทางอำเภอปากพะนัง

ใน พ.ศ 2506 ได้มีคนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่นี้ ในบริเวณนี้สามารถปลูกยางพาราและผลไม้หลายชนิดได้ดี หนึ่งในผู้ก่อตั้งชื่อว่า “หมี” และชาวบ้านก็ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อของเขา ในปี พ.ศ.2515 รัฐบาลได้ประกาศให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และก็พยายามไล่พื้นที่ของคนในชุมชนที่อาศัยอยู่ โดยได้กล่าวหาว่าคนในชุมชนนี้ได้ใช้และทำลายทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่แห่งนี้ (เป็นรัฐบาลเดียวกันกับที่อนุญาตให้กลุ่มนายทุนเข้ามารับสัมปทานพื้นที่ป่า และขายต้นไม้ออกนอกประเทศ) นับตั้งแต่ช่วงเวลานั้น ทางชาวบ้านมากกว่า 60 ครอบครัวก็ได้รวมตัวกันเพื่อต่อสู้และพิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขานั้น ไม่รุกรานและอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสันติสุข หลายต่อหลายครั้งทางชุมชนมีกิจกรรมอาสาสมัครต่างๆ ที่ทำให้ชุมชนนั้นรัก ผูกพัน และรับผิดชอบต่อธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

ในปีพ.ศ. 2545 พวกเขาได้ก่อตั้งกลุ่ม “รักป่าต้นน้ำ” มีสมาชิกทั้งสิ้น 157 ครอบครัว หรือราวๆ 463 คน ทางกลุ่มได้มีข้อตกลงร่วมกันที่จะดูแลรักษาป่า สัตว์ป่า น้ำ ต้นไม้ และจัดกิจกรรมร่วมกัน

ในปีพ.ศ. 2557 ตำรวจชายเดนได้ริเริ่มการสอนภายในโรงเรียนเพื่อที่จะให้เด็กๆ ได้รับการเรียนการสอนตลอดทั้งปี โดยในปี พ.ศ. 2558-2559 อาสาสมัครจากดาหลาและศูนย์จากร้อยหวันพันป่า ได้เข้าไปร่วมกิจกรรมกับเด็กที่โรงเรียนอยู่เรื่อยๆ หลังจากที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสมเด็จพระเทพฯ และผู้บริจาคอื่นๆ จึงมีการสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหลังอ้ายหมีได้สำเร็จ

ที่มาของโครงการ

ในปีพ.ศ. 2557 ตำรวจชายเดนได้ริเริ่มการสอนภายในโรงเรียนเพื่อที่จะให้เด็กๆ ได้รับการเรียนการสอนตลอดทั้งปี โดยในปี พ.ศ. 2558-2559 อาสาสมัครจากดาหลาและศูนย์จากร้อยหวันพันป่า 2 ได้เข้าไปร่วมกิจกรรมกับเด็กที่โรงเรียนอยู่เรื่อยๆ หลังจากที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสมเด็จพระเทพฯ และผู้บริจาคอื่นๆ จึงมีการสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหลังอ้ายหมีได้สำเร็จ

หลังจากที่ศูนย์ร้อยหวันพันป่าได้ปิดตัวลงในปี พ.ศ. 2559 สมาชิกของชุมชนหลังอ้ายหมีอย่างพี่คม และอาจารย์อย่างอยู่ปราการได้ติดต่อและสนใจที่จะรับอาสาสมัครมาต่อยอดโครงการในชุมชนหลังอ้ายหมีต่อไป  โดยจะเน้นกิจกรรมกับเด็กในโรงเรียนระดับประถม และกิจกรรมอนุรักษ์ป่า

จุดประสงค์ของโครงการ

– เพื่อสนับสนุนและสร้างแรงขับเคลื่อนในด้านการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม

– เพื่อส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ

– เพื่อให้เด็กๆ และคนในชุมชนเกิดความคุ้นชินกับอาสาสมัครต่างชาติ รวมทั้งให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่หลากหลายอีกด้วย

– เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนหลังอ้ายหมี

กิจกรรม

– กิจกรรมกับเด็กในโรงเรียนประถม (เกมส์ เพลง สอนคำศัพท์)

– กิจกรรมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ เพาะชำต้นไม้ในท้องถิ่น

– ทำฝายน้ำ (ฝายชะลอน้ำ) สำรวจป่าต้นน้ำ

– แลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม

– กิจกรรมกับชุมชน (เกี่ยวกับการปลุกผลไม้ ยางพารา และงานจักสาน)

ที่พัก และอุปกรณ์ที่จำเป็น
ที่พัก อาสาสมัครจะพักรวมกันในบ้านพักอาสาสมัครของชุมชน มีห้องน้ำภายในบ้าน
อาหาร อาสาสมัครจัดเตรียมทำอาหารกันเอง และมีคนในชุมชนมาช่วยกันทำบ้างเป็นบางมื้อ
ซักผ้า ซักผ้าด้วยมือ

สัญญาณโทรศัพท์ DTAC และ TRUE มีสัญญาณ เฉพาะในโรงเรียน

 

 

บ้านโคกโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัด พัทลุง

ภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์, กิจกรรมกับเด็กและชุมชน

รหัสโครงการ: DaLaa 1901MTV
รูปแบบค่าย: ค่ายระยะกลาง (2-6 เดือน)
จำนวนอาสาสมัครไทยที่เปิดรับ ; 2
ช่วงเวลาที่เปิดรับอาสาสมัคร :เปิดรับทั้งปี (หยุดเฉพาะปิดเทอม มีนาคม- เมษายน และตุลาคม)

ประวัติโครงการ

โรงเรียนวัดโพธาวาส เป็นโรงเรียนระดับประถมขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่ บ้านโคกโพธิ์ หมู่ที่ 10 ตำบล ท่าแค อำเมือง จังหวัด พัทลุง  เปิดสอน ในระดับ อนุบาล ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมีนักเรียน 49 คน คุณครู 7 คน ทางดาหลาได้รับการติดต่อจาก ทางโรงเรียนเรื่องต้องการอาสาสมัครเพื่อไปทำกิจกรรมด้านภาษา และกิจกรรมเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก ๆ พื้นฐานด้านภาษาอังกฤษของเด็ก ค่อยข้างต่ำกว่าเกณฑ์เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นเรื่องไกลตัว เด็ก ไม่มีโอกาสได้ใช้จริงในชีวิตประจำวัน ทางดาหลาเลยต้องการให้กิจกรรมในครั้งนี้ เปิดโอกาสให้ เด็ก และคุณครูได้มีโอกาสได้เจอชาวต่างชาติ และอาสาสมัคร เพื่อที่จะได้ กล้าพูด และทำความคุ้นเคยกับชาวต่างชาติ เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร

ประวัติความเป็นมาและสภาพทั่วไปของชุมชน

โรงเรียนวัดโพธาวาส เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา ตั้งอยู่ที่ หมู่ 10 บ้านโคกโพธิ์ตำบล ท่าแค อำเภอเมือง จังหวัด พัทลุง ตั้งอยู่ในชุมชนพุทธ พื้นที่โรงเรียนอยู่ในบริเวณเดียวกับวัดโพธาวาส ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน โรงเรียนมีอายุ 50 ปี        ก่อตั้งโดยพระครูโพธาภิรม ซึ่งเป็น เจ้าอาวาสวัดโพธาวาส  เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม มีเนื้อที่ 10 ไร่ 1 งาน

สภาพที่ตั้งของชุมชนบ้านโคกโพธิ์ เป็นพื้นที่ราบ ชาวบ้านมีอาชีพหลากหลาย ได้แก่ ทำนา ทำสวน ประมาณร้อยละ 60 และอาชีพรับจ้าง ค้าขาวประมาณร้อยละ 20 และ บางส่วน รับราชการ ทำงานลูกจ้าง ทั่วไป

ที่มาของโครงการ

ทางสมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา) ได้ได้รับการติดต่อจาก ผอ. ฉันทนา มิตรเปรียญ หรือ ผอ.ปิ่น  ซึ่งได้ทราบข่าวการทำงานของสมาคมจากน้าเอียด (โรงเรียนบ้านใต้ร่มไม้)     ซึ่งเคยร่วมกิจกรรมกับทางดาหลามาก่อน  โดย ผอ. ปิ่น ได้ติดต่อกับสมาคมฯ เพื่อร่วมดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา โดยให้เด็กได้ใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ผ่านการทำกิจกรรมที่มีความหลากหลาย  โดยการดึงอาสาสมัคร นานาชาติไปดำเนินการในการนำกระบวนการกิจกรรม ทำให้เด็กได้ฝึกกระบวนการฟัง คิด พูด อ่าน เขียน และสามารถแลกเปลี่ยนภาษา และวัฒนธรรมกับอาสาสมัครนานาชาติได้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กๆ ในโรงเรียนได้มีโอกาสเรียนพูด  และฝึกการใช้ภาษาจากชาวต่างชาติและอาสาสมัครไทย และเพื่อเป็นการเปิดมุมมองด้านภาษาให้กับเด็กๆ  ไม่ให้ตื่น กลัวในการพูด ภาษาต่างชาติ พื้นฐานด้านภาษาอังกฤษของเด็กๆ ค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ เนื่องจากไม่มีโอกาส ได้ใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน

วัสถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษให้กับเด็ก และผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก และผู้ที่ร่วมกิจกรรมได้ตระหนักถึงงานอาสา

 3. เพื่อเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรมที่หลากหลาย

คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมในการเข้าร่วมโครงการ

1. สามารถใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนได้

2. ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้

3. มีจิตอาสา และรับได้ถึงวิถีชีวิต การกิน นอน ที่ไม่สะดวกสบายเหมือนที่บ้าน

4. มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ

5. ไม่ยึดติดกับโลกออนไลน์

ณ สวนลมหายใจอันสงัด ต. คุ้งกระถิน อ.เมือง จ. ราชบุรี

สอนภาษาอังกฤษและศิลปะในโรงเรียน เกษตรอินทรีย์ และทำกิจกรรมกับชุมชน

รหัสโครงการ: DaLaa 1902MTV
จำนวนอาสาสมัครไทยที่เปิดรับ ; 2
ช่วงเวลาที่เปิดรับอาสาสมัคร :ค่ายเริ่มต้นระยะเวลา 2 เดือน  ตั้งแต่ 6 พฤษภาคมถึง 31 สิงหาคม 2019

ประวัติโครงการ

สวนลมหายใจอันสงัดมีสมาชิกในครอบครัวอยู่ 3 คน มีความสนใจในเรื่องการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนมันคือกระบวนการที่ใช้ในทำงานเพื่อไปข้างหน้า ในกระบวนการนี้ได้ทำงานกับชุมชนเพื่อพัฒนางานชุมชน และยังทำงานกับเครือข่ายอาสาสมัครในเมืองไทย อีกทั้งยังทำงานกับกลุ่มคนหลากหลายที่มีความคิดและจุดมุ่งหมายเหมือนกัน ในพื้นที่ของชุมชน รวมถึงยังทำงานกับโรงเรียนและเด็ก ๆ รวมทั้งอาสาสมัครที่เกี่ยวเนื่องกับงานด้านสิ่งแวดล้อม

โดยทางครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ในสวนในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาและเริ่มปลูกต้นไม้และสร้างบ้านด้วยตัวเองยินดีต้อนรับอาสาสมัครและผู้มาเยี่ยมชม ได้เริ่มต้นในการสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนในท้องถิ่นไม่กี่ครั้งและดูความต้องการในการพัฒนาชุมชน เพื่อต้องการที่จะส่งเสริมการศึกษาทางเลือก, การพึ่งพาตนเองและการทำงานกับไทยและอาสาสมัครชาวต่างชาติที่จะปรับปรุงชีวิตของชุมชนและสังคม

จุดประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อสนับสนุนเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นให้สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติและเรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม

2. เพื่อปรับปรุงการรับรู้ตนเองของเด็กและคนหนุ่มสาว และให้พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อแสดงออก

3. เพื่อสร้างพื้นที่เปิดสำหรับการทำเกษตรอินทรีย์สู่ชุมชนระบบนิเวศที่พึ่งพาตนเองได้

กิจกรรม

– อาสาสมัครจะจัดบทเรียนและเกมภาษาอังกฤษและศิลปะให้กับเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา (อายุ 7 ถึง 12 ปี) ทั้งที่โรงเรียนชุมชน (2-3 วันต่อสัปดาห์) และที่สวนลมหายใจอันสงัด

– อาสาสมัครจะทำงานศิลปะในบ้านดิน เราได้สร้างบ้านดิน 2 หลังและห้องสมุด 1 หลัง ตอนนี้เรากำลังสร้างอาคารทำสมาธิขนาดใหญ่และบ้านของครอบครัวรวมถึงบ้านอาสาอีกแห่งหนึ่งจากดิน

– อาสาสมัครจะปลูกผักและปลูกต้นไม้รดน้ำใส่ปุ๋ยหมักและเก็บผลไม้เช่นกล้วยและมะม่วง

คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมในการเข้าร่วมโครงการ

1. สามารถใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนได้

2. ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้

3. มีจิตอาสา และรับได้ถึงวิถีชีวิต การกิน นอน ที่ไม่สะดวกสบายเหมือนที่บ้าน

4. มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ

5. ไม่ยึดติดกับโลกออนไลน์

ที่พัก/อุปกรณ์การนอน: พื้นที่จัดเตรียมหมอน, แผ่นปูนอนแบบบาง และมุ้งไว้ให้ อาสาสมัครควรเตรียมถุงนอนหรือแผ่นรองนอนมาเอง หากต้องการความสะดวกสบายในระหว่างอยู่ในโครงการ

อาหารระหว่างอยู่ในค่าย: อาสาสมัครประกอบอาหารร่วมกับผู้ประสานงานในศูนย์หรือครอบครัว อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำเครื่องปรุงหรืออาหารท้องถิ่นมาประกอบอาหารร่วมกับพื้นที่และอาสาสมัครคนอื่นๆได้ในระหว่างเข้าร่วมโครงการ

การซักผ้า: ซักมือ

น้้ำดื่ม น้ำใช้: พื้นที่ซื้อน้ำดื่ม จากร้านค้าในชุมชน ส่วนน้ำใช้ใช้ระบบประปาครัวเรือน

สัญญาณโทรศัพท์ :  มีสัญญาณโทรศัทพ์ใช้ทุกเครือข่าย

การแต่งกาย : การแต่งกายของอาสาสมัครเมื่ออยู่ในชุมชน ควรแต่งกายมิดชิด เพื่อการให้เกียรติคนในชุมชน เนื่องชุมชนวิถีไท เป็นชุมชนวิถีพุทธ ที่ยังคงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งการแต่งกาย เพื่อให้อาสาสมัครเป็นตัวอย่างที่ดีในการแต่งกายให้แก่เด็กในชุมชน อาสาฯควรใส่เสื้อมิดชิด กางเลยเลยเข่า หรือกางเกงขายาว หรือแต่งกายสุภาพ ตลอดการอยู่ร่วมในโครงการ.