ภาวิตา ยะสะนพ

Volunteer team in IJGD

ฉันชื่อ น.ส.ภาวิตา ยะสะนพ ชื่อเล่น เบคก้า เป็นอาสาสมัครในโครงการ Weltwärts ประเทศเยอรมันนี เป็นระยะเวลา 12 เดือน ในศูนย์ดูแลคนพิการ โดยองค์กรที่ฉันอยู่นั้นเป็น Day care สำหรับคนพิการที่มีอายุตั้ง 18 ปีขึ้นไป เป็นเหมือนกับสถานที่ที่บุคลเหล่านี้จะได้มาทำงานและใช้ศักยภาพของตัวเองในการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับผู้พิการคนอื่นๆในกลุ่มและในทุกๆวัน จันทร์-ศุกร์ คนพิการเหล่านี้จะมาที่ศูนย์ ในตอนเช้าตั้งแต่เวลา 8.00-15.00 น. เพื่อทำงานร่วมและกิจกรรมร่วมกัน แต่ละกลุ่มจะมีคนพิการจำนวน 8-9 คน และเจ้าหน้าที่ดูแล 3-4 คน สิ่งที่พวกเราทำกันประจำในแต่ละวัน ก็จะเป็นการจัดเตรียมโต๊ะสำหรับมื้ออาหารในตอนเช้า และตอนเที่ยง,กิจกรรมสันทนาการต่างๆ เช่น ร้องเพลง เต้น เล่นเกมส์,งานประดิษฐ์,ทำสวน,ไปซื้อของในซูปเปอร์มาเก็ต ฯลฯ และที่สำคัญคือในแต่ละปี ทุกๆกลุ่มจะมีโปรเจคที่รับผิดชอบและทำร่วมกัน ซึ่งกลุ่มที่ฉันอยู่ทำโครงการเกี่ยวกับประเทศกรีก และกิจกรรมของพวกเราก็จะทำ อาหาร เครื่องดื่ม งานประดิษฐ์ เพลง หรือแม้บริบทโดยรอบเกี่ยวกับประเทศกรีก ซื่งตอนแรกมันไม่ง่ายเลยสำหรับคนที่พึ่งจบมัธยมปลาย และไม่มีความรู้ใดๆเลยในการดูแลและทำงานร่วมกับคนพิการแบบฉัน ซึ่งแน่นอนว่าคนพิการไม่ใช่คนปกติแบบพวกเราที่สามารถทำอะไรๆเองได้แบบพวกเรา จึงต้องมีการดูแลอย่างเช่น ป้อนข้าว ป้อนน้ำ และการเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือทำความสะอาดหลังจากเสร็จธุระ ในฐานะอาสาสมัครงานจริงๆก็ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องทำทุกอย่าง แค่ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่หลักเวลาที่เค้าต้องการความช่วยเหลือ แต่มันจะยากตรงที่คนพิการแต่ละคนมีความบกพร่องและความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งมันต้องใช้เวลาสักระยะนึงในการเรียนรู้ และด้วยปัจจัยอื่นๆอีก เช่น การต้องมาอยู่ด้วยตัวเองในที่ที่ห่างไกลจากบ้าน และครอบครัว ต้องปรับตัวกับสภาพแวดล้อม ยอมรับเลยว่ามันค่อนข้างหนักในช่วงแรกๆ บางครั้งฉันรู้สึกเหนื่อยกับการที่ต้องเปิดรับสิ่งใหม่ๆอยู่ตลอด รู้สึกหมดกำลังใจ หรือไม่แรงผลักดัน ฉันก็มักจะมีคำถามกับตัวเองว่า ฉันมาที่นี่เพื่ออะไร? ฉันต้องการอะไรจากที่นี่? และไม่ว่าจะคิดในมุมไหนมันก็จะออกมาเป็นคำตอบเดียวกันหมด นั่นก็คือ “การเก็บเกี่บวประสบการณ์” ฉันได้เรียนรู้มากมายหลายสิ่งใน 1 ปี ไม่ใช่แค่ในด้านการเป็นอาสาสมัครหรือทักษะการทำงานแค่อย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการท้าทายตัวเองในสิ่งใหม่ๆ, การเอาชนะความกลัวและกล้าที่จะตัดสินใจทำในสิ่งที่ตัวเองไม่เคยแม้แต่จะคิดว่าในชีวิตนี้จะโอกาสได้ทำ, การเข้าใจเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น เพราะการทำงานกับบุคคลเหล่านี้สิ่งสำคัญคือการเปิดใจให้กว้างที่สุด, การทำงานร่วมกับคนอื่นๆในสังคมที่มีความแตกต่างและความหลากหลาย, การใช้ชีวิตด้วยตัวเอง, การเอาชนะและก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆด้วยตัวเอง เพราะ 1 ปีที่ผ่านมา แน่นอนว่ามีอุปสรรคและเรื่องราวต่างๆที่ทำให้ฉันท้อและยากที่ผ่านมันไปได้ และฉันได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดเวลาที่มีอุปสรรคต่างๆเข้ามานั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การรักตัวเองให้มากๆ กอดตัวเองให้แน่นๆ แล้วทุกอย่างมันจะผ่านไป มันอาจจะไม่ง่าย แต่ถ้าทำได้ มันจะเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจที่สุดสำหรับตัวเราเอง สุดท้ายฉันต้องขอบคุณครอบครัวของฉันที่คอยให้กำลังใจ สนับสนุน และคอยอยู่ข้างๆกันตลอดไม่ว่าฉะนจะตัดสินใจทำอะไร ขอบคุณดาหลา ที่สนับสนุนเปิดโอกาสให้ฉันได้มาเรียนรู้ หาประสบการณ์และเปิดโลกกว้างไกลถึงถึงประเทศเยอรมันนี

ชื่อโครงการ  เกษตรอย่างยั่งยืน

(ทำสวน ปลูกพัก และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม อาหาร นานาชาติ)

ค่ายบ้านโคกเหรียง  อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

ระยะเวลาโครงการ ตลอดทั้งปี

ประวัติโครงการ

ดาหลาเริ่มกิจกรรมกับบ้านโคกเหรียงตั้งแต่เดือนภุมภาพันธ์ 2556 เปิดเป็นโครงการระยะยาวต่อเนื่อง รับอาสาสมัครตลอดทั้งปี โดยมีกิจกรรมหลักคือ ทำเกษตร มีเจ้าของโครงการชื่อลุงแจงที่อยากทำเกษตรแบบปลูกเพื่อกิน ลุงแจงมีความคิดเกี่ยวกับการกินอาหารที่ปลอดภัย จะทำให้สุขภาพดี เพราะลุงแจงมีโรคประจำตัว(โรคหัวใจ) เลยต้องดูแลเรื่องการกินเป็นพิเศษ

ดาหลารู้จักลุงแจงได้อย่างไร เมื่อปี 2549 ดาหลาได้ร่วมงานกับชมรมคนแบกเป้มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เพ่อดำเนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ จากนั้นดาหลา ชมรมคนแบกเป้และลุงแจงก็ได้ร่วมกิจกรรมด้วยกันมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั้งเมื่อปี 2556 ลุงแจงได้ลาออกจากงานประจำ เพื่อมาทำสวน ลุงแจงและเพื่อนมีความคิดอยากปลูกผักกินกเอง ปลูกแบบผสมผสานทุกอย่างในพื้นที่สวน 8 ไร่  ซึ่งในอนาคต ลุงแจงคาดหวังอยากให้พื้นที่บ้านลุงแจงเป็นพื้นที่ให้ชาวบ้าน รวมถึงคนจากชุมชนข้างนอกสามารถเข้ามาร่วมเรียนรู้ด้วยกันได้ ดาหลาจึงสนับสนุนความคิดของลุงแจง ด้วยการเสนอให้มีอาสาสมัครนานาชาติในพื้นที่ ไว้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องการเกษตรต่อไป เมื่อโครงการได้เริ่มขึ้น ดาหลาได้ส่งอาสาสมัครระยะยาวอย่างต่อเนื่อง และได้จัดกิจกรรมค่าระยะสั้นเป็นเวลา 2 สัปดาห์บ้างในบางเดือน เพื่อเปิดพื้นที่ให้คนที่อยากทำทำสวน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเกษตร บางเวลาก็มีกลุ่มเยาวชนจากพื้นที่ต่างๆมาร่วมกิจกรรมด้วย เช่น กลุ่มยิ้มจากยะลา กลุ่มเยาวชนโรงเรียนคลองโต๊ะเหล็ม จังหวัดสตูล เป็นต้น

กิจกรรมที่จะทำ

– ทำเกษตรเช่น ปลูกผัก เลี้ยงปลา รดน้ำพืชผัก ผลไม้ ในสวน เวลาทำงานแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงเช้าเวลาประมาณ 7-10 โมง และช่วงเย็น16.00-18.00 น.

–  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรม วัฒนธรรม อาหาร กับเพื่อนอาสาสมัครนานาชาติ

บริบทชุมชน

บ้านโคกเหรียงตั้งอยู่ที่ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา  อยู่ห่างจากสนามบินหาดใหญ่ประมาณ 5 กิโลเมตร ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธ ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำสวนยางพารา แต่ก็มีบางส่วนที่เดินทางออกมาทำงานในตัวเมืองหาดใหญ่ เนื่องจากบ้านโคกเหรียงเป็นชุมชนใกล้เมือง ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ให้ความสนใจในเรื่องการเพาะปลุกผักกินเอง ทั้งๆที่พื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก เน้นการซื้อจากท้องตลาดเป็นหลัก เช่นเดียวกันท้องทุ่งนาก็ได้ปล่อยว่างไม่มีการทำนา มีเพียงบางครอบครัวเท่านั้นที่ยังคงทำอยู่ มีร้านค้าชุมชนเป็นจำนวนมาก ไม่มีตู้ ATM กดเงินสด

อาหาร

รับประทานอาหารทุกประเภท แต่ลุงแจงเจ้าของโครงการจะทำอาหารเพื่อสุขภาพเป็นหลัก เพราะลุงแจงจะให้ความสำคัญเรื่องกินมากที่สุด การทำอาหารลุงแจงจะเป็นคนทำเป็นหลัก อาสาสมัครจะต้องช่วยลุงแจงในการเตรียมอาหารและบางครั้งจะต้องทำอาหารเองบ้าง มีครัวสำหรับที่ทำอาหารเพียบพร้อม อาหารที่บ้านลุงแจง ไม่มีการใส่ผงชูรส รสดี หรือส่วนผสมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และลุงแจงเน้นเรื่องความสะอาดและความเป็นระเบียบของของบ้าน

ที่พัก

อาสาสมัครพักที่บ้านของลุงแจง ตอนนี้มีห้องพักสำหรับอาสาสมัคร 3 ห้อง ห้องละ 2 คน แยกนอนชายหญิง เว้นแต่กรณีที่แต่งงานแล้วสามารถอยู่ด้วยกันได้ หรือถ้ามีค่ายระยะสั้นเกิดขึ้น จำนวนอาสาสมัครหลายคน ก็จะนอนในบริเวณพื้นของบ้าน มีมุ้ง และเต้นท์ ไว้สำรอง พื้นบ้านเป็นโล่งโถ่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก

ซักผ้า
ซักผ้ากับเครื่อง แต่ห้ามซักชุดชั้นใน กางกางใน  ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เตรียมมาเอง

ห้องน้ำ

มีห้องน้ำสำหรับอาสาสมัคร 2 ห้อง สามารถใช้ส้วมและอาบน้ำในห้องเดียวกัน
คุณสมบัติของอาสาที่จะเข้าร่วม

–  ชอบทำเกษตร และชีวิตแบบเรียบง่าย  ทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนได้

–  ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้

–  มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ

จำนวนอาสาสมัครระยะยาวที่เปิดรับสมัคร

–   อาสานานาชาติ 5 คน

–   อาสาสมัครไทย  2 -3 คน

การติดต่อสื่อสาร

สัญญาณโทรศัพท์ใช้ได้ทุกระบบ มีอินเตอร์เน็ต สามารถใช้ WIFI ได้ แต่ต้องไม่ใช้ในเวลาที่ทำงาน สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้เมื่อเป็นเวลาพักผ่อนเท่านั้น

การเดินทาง

–  จากกรุงเทพ สามารถเดินทางโดยรถไฟ มาลงที่สถานีหาดใหญ่  หลังจากนั้นต่อรถสองแถวสีฟ้าหรือสีขาว ที่เขียนว่าสนามบิน หรือตลาดเกษตรแต่ต้องเดินออกมาจากสถานีรถไฟหาดใหญ่ มาขึ้นรถสองแถวที่หน้าตลาดกิมหยง (สามารถถามแม่ค้าระหว่างทางได้) ใช้เวลาในการเดินไปตลาดกิมหยงประมาณ 10 นาที และใช้เวลาในการนั้งรถสองแถวประมาณ 20 นาที ค่าโดยสารประมาณ 10 บาทตลอดสาย เมื่อถึงที่ศูนย์โตโยต้าหาดใหญ่ในให้เตรียมตัวกดกริ่งลงหน้าหมู่บ้านรติมา เดินเข้าซอยเพชรเกษม 43 (จุดสังเกต ป้ายสีเขียนเขียนว่า พอตารีสอร์ท) เดินเข้าซอยประมาณ 5 นาที สำนักงานดาหลาอยู่กลางซอย มีป้ายดาหลาติดอยู่ในบ้านสามารถเห็นได้ชัด บ้านเลขที่ 86

–   รถบัส กรุงเทพ หาดใหญ่ หลังจากนั้นต่อรถสองแถวสีฟ้าหรือสีขาว ที่เขียนว่าสนามบินขนส่ง หรือตลาดเกษตรแต่ต้องเดินออกมาจากสถานี บขส.หาดใหญ่ มาขึ้นรถสองแถวที่หน้าเซเว่นอีเลเว่น (สามารถถามแม่ค้าทางได้) ใช้เวลาในการนั้งรถสองแถวประมาณ 35 นาที ค่าโดยสารประมาณ 10 บาทตลอดสาย เมื่อถึงที่ศูนย์โตโยต้าหาดใหญ่ในให้เตรียมตัวกดกริ่งลงหน้าหมู่บ้านรติมา เดินเข้าซอยเพชรเกษม 43 (จุดสังเกต ป้ายสีเขียนเขียนว่า พอตารีสอร์ท) เดินเข้าซอยประมาณ 5 นาที สำนักงานดาหลาอยู่กลางซอย มีป้ายดาหลาติดอยู่ในบ้านสามารถเห็นได้ชัด บ้านเลขที่ 86

–  เครื่องบินจากกรุงเทพ ลงสนามบินหาดใหญ่ หลังจากนั้นต่อรถสองแถวสีฟ้า ที่เขียนว่าขนส่ง สนามบิน หรือตลาดเกษตรแต่ต้องเดินออกมาจากสนามบินหาดใหญ่ มาขึ้นรถสองแถวที่หน้าถนนทางออก (สามารถถามผ่านประชาสัมพันธ์ได้) ใช้เวลาในการนั้งรถสองแถวประมาณ 20 นาที ค่าโดยสารประมาณ 20 บาทตลอดสาย เมื่อถึงที่ราชาเฟอร์นิเจอร์ให้เตรียมตัวกดกริ่งเดินข้ามถนนมาอีกฝั่ง สังเกตชื่อหมู่บ้านรติมา เดินเข้าซอยเพชรเกษม 43 (จุดสังเกต ป้ายสีเขียนเขียนว่า พอตารีสอร์ท) เดินเข้าซอยประมาณ 5 นาที สำนักงานดาหลาอยู่กลางซอย มีป้ายดาหลาติดอยู่ในบ้านสามารถเห็นได้ชัด บ้านเลขที่ 86
เงื่อนไขการร่วมโครงการ

1.ต้องเสียค่าบำรุงสมาคมเดือนละ 3,500 บาทซึ่งจะนำมาเป็นค่าอาหารสำหรับผู้เข้าร่วม ค่าที่พัก ค่ากิจกรรมต่างๆ ของสมาคม

2.ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และต้องแจ้งผู้ปกครองให้รับทราบก่อนเข้าร่วมโครงการ

3.ผู้เข้าร่วมเป็นผู้รับผิดชอบดูแลความปลอดภัยของตนเอง

4.ผู้เข้าร่วมต้องร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 1 เดือน

5.ของส่วนตัวผู้เข้าร่วมต้องเตรียมเอง (ยาสระผม ผงซักฟอก แป้ง สบู่ )

สิ่งที่ต้องเตรียมมาร่วมค่าย

1.ถุงนอน หรือผ้าห่ม

2.เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ 2 สัปดาห์ (ผู้หญิงเสื้อแขนกุด กางเกงขาสั้นไม่อนุญาตใส่ระหว่างค่าย)

3.เสื้อผ้าสำหรับใส่ทำงาน สามารถสกปรกได้ และไม่เสียดายทีหลังค่ะ

4.อุปกรณ์กันแดด หมวก ครีมกันแดด

5.ถุงมือ และรองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหุ้มส้น สำหรับทำงาน

6.รูปถ่าย หรืออาหารท้องถิ่นของตนเอง (สำหรับมาแลกเปลี่ยนกับผู้ร่วมค่ายคนอื่น ๆ)

7.สเปรย์กันยุง (กรุณาเลือกอันที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม)

8.ไฟฉาย (เลือกแบบที่สว่างมาก ๆ และควรเป็นแบบชาร์จแบตเตอรี่ )

9.ความคิดสร้างสรรค์ เกมส์ เพลง เพื่อความบันเทิงในค่าย

10.ความคิดด้านบวก มองโลกในแง่ดี และรอยยิ้มที่สดใส

11.เมล็ดพันธ์ผัก (ถ้ามี)

สิ่งที่ห้ามนำมาในค่าย

1.สารเสพติด

2.แอลกอฮอล์

3.อคติ หรือความคิดด้านลบ

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ

สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา)

86 เพชรเกษม 43 ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา  90110

www.dalaa-thailand.com

Email: dalaa.thailand@gmail.com

Tel. 074 266 286

ชื่อโครงการค่ายระยะยาวบ้านโคกพยอม อำเภอละงู จังหวัดสตูล (ระยะเวลาที่อาสาเข้าร่วมตั้งแต่ปี 2552- ปัจจุบัน)

ประวัติชุมชน

บ้านโคกพยอม หมู่ 18 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นชุมชนมุสลิม  ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง สวนยาง และทำนา มีลำคลองติหงีเป็นลำคลองสายหลักที่ไหลผ่านชุมชน ก่อนไหลลงสู่ทะเลอันดามัน ทิศตะวันตกเป็นทุ่งนาและสลับกับสวนยางเป็นหย่อมๆที่ผสมผสานความหลากหลายได้อย่างลงตัว ในทุกๆปีก็จะมีการทำนาปลูกข้าวทำให้ชุมชนที่นี่ไม่ต้องซื้อข้าวสารจากข้างนอก  นอกจากอาชีพหลักที่ชาวบ้านทำแล้วยังมีกลุ่มสตรีที่ทำขนมพื้นบ้าน เพาะเห็ดนางฟ้า กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ และกลุ่มเลี้ยงปลา. ในปี 2552 สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา) ได้ร่วมมือกับทางชุมชนบ้านโคกพยอม ริเริ่มงานค่ายอาสาสมัครนานาชาติขึ้นในชุมชน โดยร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆขึ้นเพื่อร่วมกันเปิดโอกาสให้เยาวชนในท้องถิ่นและอาสาสมัครจากที่อื่นๆได้ร่วมกัยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการปฎิบัติงานตามโครงการต่างๆร่วมกัน เช่น โครงการด้ารการศึกษาทางเลือก ภาษาอังกฤษ ศิลปะ โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่นการร่วมกันปลูกพันธุ์ไม้ทดแทนในเขตป่าชายเลน การคัดแยกขยะในชุมชน การทำบ่อเลี้ยงปูธรรมชาติไปจนถึงการริเริ่มก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน โรงเรียนคลองโต๊ะเหล็ม เพื่อให้เด็กและเยาวชน ผู้ใหญ่ อาสาสมัครนานาชาติ รวมทั้งผู้สนใจทั่วไปได้มีพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ภูมิปัญญา วิถีการดำรงชีวิตอย่างรู้คุณค่าทรัพยากรธรรมชาติและสัิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นศูนย์กลางเพื่อการรวบรวมข้อมูลข่าวสารความรู้ของชุมชนที่จะนำไปสู่การส่งเสริมกระบวนการเรียรู้ของชุมชน เป็นแหล่งเสริมสร้างโอกาสทางการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชุมชน และการบริการชุมชนในด้านต่างๆ

อาหาร

อาสาสมัครสามารถประกอบอาหารได้ด้วยตนเอง ในบริเวณที่พักเรามีห้องครัวสำหรับปรุงอาหาร และในชุมชนมีพื้นที่สำหรับการทำแปลงเกษตร ปลูกผัก เลี้ยงเป็ด ไก่ และมีบ่อปลาที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ที่อาสาสมัครสามารถนำมาประกอบอาหารได้ มีร้านค้าในชุมชนที่อาสาสมัครสามารถหาซื้อวัตถุดิบมาประกอบอาหารตามที่ต้องการได้

ที่พัก

ศุนย์โคกพยอม มีอาคารที่พักสำหรับอาสาสมัครจำนวน 3 ห้อง และศาลาสำหรับกางเต้นท์ ที่สามารถรองรับอาสมัครได้

คุณสมบัติของอาสาที่จะเข้าร่วม

–  รักธรรมชาติ และชีวิตแบบเรียบง่าย ห่างไกลเมือง

–  ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ โดยเฉพาะอาสาสมัครไทยที่สนใจอยากเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมต่างประเทศ

–   มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ

–   รักการทำกิจกรรมกับเด็ก สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมไทย (กรณีอาสาต่างชาติ) และสามารถรับวัฒนธรรมต่างชาติได้ (กรณีอาสาไทย)

–   สนใจประเด็นด้านการศึกษาทางเลือก และสามารถอยู่ร่วมกับชุมชน ชาวบ้านและอาสาสมัครนานาชาติได้

ลักษณะกิจกรรมที่อาสานานาชาติเข้าร่วม

– กิจกรรมสอนภาษาแก่นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอม และโรงเรียนบ้านท่าชะมวง โรงเรียนบ้านบากันโต๊ะทิด รวมถึงสอนภาษาอังกฤษแก่คนในชุมชน

– ร่วมกิจกรรมกับศูนย์เรียนรู้ชุมชนโรงเรียงคลองโต๊ะเหล็ม ซึ่งเป็นโรงเรียนทางเลือกที่ชุมชนร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อถ่ายถอดภูมิปัญญาชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ป่าชายเลน รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น

– กิจกรรมชุมชน เช่น ทำนา ทำปุ๋ยหมัก ทำสวน สร้างศูนย์เรียนรู้ ธนาคารขยะ เลี้ยงเป็ดไก่ เป็นต้น

จำนวนอาสาสมัคร

อาสาสมัครนานาชาติ  6 คน

อาสาสมัครไทย 1-2 คน

โครงการค่ายระยะยาว เกาะสุกร
เกาะแห่งการเรียนรู้ สู่โลกกว้าง สร้างทักษะการสื่อสาร และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ณ บ้านเกาะสุกร ต.เกาะสุกร อ.ปะเหลียน จ.ตรัง
ระหว่างเดือน สิงหาคม –  มีนาคม ของทุกปี

ประวัติโครงการ

เป้าหมายของโครงการค่ายอาสาสมัครระยะยาวตำบลเกาะสุกร เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และคนในพื้นที่เรียนรู้ทักษะชีวิตของชุมชนตนเอง วิถีชีวิตดั้งเดิม ทักษะด้านภาษาอังกฤษ การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และการเปิดโอกาสเรียนรู้โลกในยุคแห่งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ผ่านการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครนานาชาติ อาสาสมัครไทย ซึ่งจะทำชาวบ้านในพื้นที่ ได้เปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้ได้กว้างขึ้น เพราะเราเชื่อว่า การศึกษา คือการเปิดโลกกว้างอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การหันกลับมาศึกษาภูมิปัญญาที่มีอยู่คู่ชุมชนและวิถีชีวิตของคนในชุมชน เป็นการสร้างแรงบันดาลใจและการใฝ่รู้ เพื่อเป็นแรงผลักดันให้ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม ได้พัฒนาทักษะการอยู่ร่วมกัน ท่ามกลางความหลากหลายและความเข้าใจกัน ได้อย่างลงตัว โดยการสร้างกระบวนการกิจกรรมกับเด็กและศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนที่ทำให้ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน
กิจกรรม
– เรียนรู้การทำนา ดำนา เกี่ยวข้าว
– การศึกษาทางเลือก โดยใช้เด็กเป็นศูนย์กลาง
– การสอนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ในตอนบ่าย-เย็น
– ภูมิปัญญาท้องถิ่น
– วิถีชีวิตของชุมและบริบทชุมชน
– วันสำคัญหรือพิธีต่างๆ

ตารางกิจกรรม

กันยายน เริ่มฤดูการทำนา. ประเพณีท้องถิ่น, อาสาสมัครเรียนรู้กระบวนการทำนา การไถนาเตรียมพื้นที่เพาะปลูก
 
กิจกรรมกับเด็ก
ตุลาคม หว่านกล้า เตรียมต้นกล้าสำหรับปลูกข้าว
ดำนา ดูแลนาข้าวกิจกรรมกับเด็กในพื้นที่เกาะสุกร
พฤศจิกายน ปลูกแตงโม เก็บเกี่ยวผลผลิต
 
ดูแลนาข้าว
กิจกรรมกับเด็ก
ธันวาคม เกี่ยวข้าว งานเปิกฟ้าอันดามัน เทศกาลประจำปีของเกาะสุกร

วัตถุประสงค์โครงการ
– เพื่อพัฒนาศักยภาพทางการเกษตร การเรียนรู้ภูมิปัญญา วิถีชีวิตของชุมชน ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการตนเองของชุมชนได้
– เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน
บริบทชุมชน
เกาะสุกรเป็นเกาะเล็กๆอยู่ฝั่งทะเลอันดามันในเขตอำเภอปะเหลียน ประกอบด้วย 4หมู่บ้านมีประชากรประมาณ 2,566 คน มีเนื้อที่ประมาณ 8,750ไร่ มีท่าเทียบเรือ 2 แห่งคือท่าเทียบเรือหาดทรายทองขึ้นฝั่งท่าตะเสะ อำเภอหาดสำราญและท่าเทียบเรือบ้านแหลมขึ้นฝั่งท่าข้าม อำเภอปะเหลียน สถานที่ราชการของเกาะสุกร มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง โรงเรียนระดับประถมศึกษา 1 โรง โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส 1 โรง มัสยิด 3 หลัง สถานีอนามัย 1 แห่ง และป้อมตำรวจ 1 แห่ง ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม สภาพพื้นที่ของเกาะสุกรมีลักษณะเป็นที่ราบสลับภูเขาเตี้ยๆมีป่าชายเลนตามแนวชายฝั่งบ้างบางพื้นที่
การประกอบอาชีพส่วนใหญ่ของคนในพื้นที่ขึ้นอยู่สภาพ ดิน ฟ้า อากาศและฤดูกาล อาชีพหลักคือการทำประมง รองลงมาคืออาชีพเกษตรกรรมได้แก่ การทำสวนยางพารา การทำนา ปลูกพืชหมุนเวียน เช่น แตงโมง ข้าวโพด ผักต่างๆ โดยเฉพาะแตงโมงถือเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของเกาะสุกรมีรสชาติอร่อย นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น ควาย วัว แพ และอาชีพรับจ้างทั่วไป
มีโรงเรียนประถม ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาล ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน เปิดสอนในระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมีโรงเรียนขยายโอกาสตั้งอยู่ในชุมชน รวมทั้งยังมีภูมิปัญญาด้านการทำประมงพื้นบ้าน วิถีชีวิตและบริบทชุมชนทางการเกษตรที่เป็นต้นทุนทางทรัพยากรที่คงคุณค่าแก่การเรียนรู้และการอนุรักษ์ไว้สืบไป

ผู้รับผิดชอบโครงการในพื้นที่

ดาหลาได้จัดส่งอาสาสมัครเข้าไปร่วมกิจกรรมกับเกาะสุกร ตั้งแต่ปี 2013 จนถึงปัจจุบัน โดยอาสาสมัครจะเข้าไปร่วมกิจกรรมกับชุมชน ภายใต้การดูแลความเป็นอยู่ของครอบรัว    ก๊ะตั๊ก (นางประนอม สมจริง) และบังเม็ง ครอบครัวอุปถัมภ์ ชาวบ้านชุมชนเกาะสุกรเชื่อว่าชุมชนและครอบครัวของเด็กและเยาวชน สามารถเป็นพื้นที่ให้เด็กๆได้เรียนรู้ทักษะชีวิต วีถีชีวิต และทุกกระบวนการเรียนรู้จากชุมชนทั้งวิถีชีวิตและบริบทชุมชนต้องเปิดโอกาสให้เด็กในพื้นที่เรียนรู้ทักษะทางด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในอนาคตและที่สำคัญการสร้างจิตสำนึกในการรักษามรดก วิถีชีวิตของชุมชนเกาะสุกรไว้

ในช่วงเดือนรอมฎอน ชุมชนมุสลิมจะมีเทศกาลถือศีลอด ชาวบ้านจะไม่มีกิจกรรมในช่วงกลางวันมากนัก อาสาสมัครสามารถเรียนรู้วิถีชีวิตของมุสลิมในช่วงถือศีลอดได้ ในชุมชนมีร้านขายของชำ ที่อาสาสมัครสามารถหาซื้อของที่จำเป็นได้ สำหรับการซื้อของอื่นๆที่ไม่มีขายในชุมชน อาสาสมัครสามารถเข้าไปซื้อของ ติดต่อธนาคาร ใช้อินเตอร์เน็ต หรือติดต่อโรงพยาบาล ในตัวเมืองย่านตาขาวและตัวอำเภอเมืองตรัง โดยอาสาสมัครต้องติดต่อผู้ดูแลโครงการเพื่ออำนวยความสะดวกให้ กรณีที่ต้องออกไปในตัวเมือง
อาหาร
จะต้องทำอาหารด้วยตัวเอง สามารถออกทะเลไปหาอาหารกับชาวบ้านได้ หรือซื้ออาหารในร้านของหมู่บ้านได้เช่นกัน

ที่พัก

พักบ้านจ๊ะตั๊กและบังเม็ง (ครอบครัวอุปถัมภ์) เป็นบ้านไทยในท้องถิ่นทั่วไป

ซักผ้า
ซักผ้ากับมือ กรุณานำผงซักฟอกมาเอง
ห้องน้ำ
มีห้องน้ำสำหรับอาสาสมัคร 2 ห้อง สามารถใช้ส้วมและอาบน้ำในห้องเดียวกัน

การเดินทางไปเกาะสุกร
จากสถานีรถไฟตรัง – สถานีรถตู้โดยสารตรัง – ย่านตาขาว รถตุ๊ก ๆ หรือมอเตอร์ไซด์รับจ้างราคาแล้วแต่ตกลง ค่าโดยสารรถตู้จากตรัง – อำเภอย่านตาขาว คนละ 30 บาท ค่าโดยสารรถสองแถวจากอำเภอย่านตาขาวไปท่าเรือตะเสะที่จะเดินทางไปเกาะสุกรคนละ 30 บาท (รถเที่ยวสุดท้ายประมาณบ่ายโมง) ค่าเรือโดยสารจากฝั่งไปเกาะคนละ 30 บาท (ถ้าเหมาเที่ยวละ 240 บาท) ค่ารถโดยสารบนเกาะจากท่าเรือถึงที่พักคนละ 40 บาท


การติดต่อสื่อสาร
สัญญาณโทรศัพท์ใช้ได้ทุกเครือข่าย

ชุมชนวิถีไท อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ: 1601MLTV
ประเภทอาสาสมัคร : ระยะกลางและระยะยาว (ตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป)
จำนวนอาสาสมัครที่รับได้  4 คน

ช่วงเวลาที่เปิดรับ : เริ่มรับอาสาสมัครตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 เป็นต้นไป-รับอาสาสมัครตลอดทั้งปี

ประวัติโครงการ

ชุมชนวิถีไทเริ่มต้นจากการการรวมตัวกันของครอบครัวที่ทำกิจกรรมทางสังคม ประมาณ 2-3 ครอบครัว โดยมีจุดมุ่งหมายปลดปล่อยตัวเองจากความเป็นทาส จากการถูกครอบงำ ทางการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง และสุขภาพ โดยเฉพาะทาสจากอัตตาตัวเอง โดยเริ่มจากการทำการศึกษาทางเลือกเพื่อความเป็นไท ให้กับลูก ๆ ของสมาชิกชุมชน และสมาชิกชุมชนท้องถิ่นอื่นๆ ที่สนใจเข้าร่วมด้วย

ขณะเดียวกันชุมชนวิถีไท มีความต้องการที่จะรับอาสาสมัคร เพื่อมาเรียนรู้ร่วมกันในการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยการศึกษาทางเลือก ที่มีจุดหมายเพื่อการหลอมรวมเป็นครอบครัวเดียวกัน และสร้างความสัมพันธ์ที่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกันกับผู้คนและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

ชุมชนวิถีไทพยายามที่จะปลดปล่อยตัวเองจากความเป็นทาสโดยเฉพาะอย่างยิ่งทาสทางจิตวิญญาณหรืออัตตา ด้วยกิจกรรมทางสังคมซึ่งเป็นรากฐานของการสร้างชุมชนใหม่ ผ่านกิจกรรมการงานในวิถีชีวิตประจำวันเพื่อพัฒนาด้านจิตวิญญาณ

Withee tai members in discussion

สภาพแวดล้อมชุมชน ประวัติศาตร์ชุมชน และที่มาของโครงการ

อำเภอชะอวดเป็นอำเภอหนึ่งทางด้านทิศใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาบรรทัดและทะเลจีนใต้ ในพื้นที่ประกอบด้วยป่า พื้นที่ป่าพรุ คลอง สวนยาง สวนปาล์ม นาข้าว และสวนผักอื่นๆ คนในพื้นที่ทำหัตถกรรมจากกระจูด คล้า ไม้ไผ่ นอกจากนี้พวกเขายังมีการละเล่นพื้นเมืองอย่างโนราห์ และหนังตะลุงอีกด้วย

บ้านท่าสะท้อน เป็นหมู่บ้านที่ครูเลี่ยมอาศัยอยู่ ระยะทางจากหมู่บ้านไปยังตัวอำเภอประมาณ ๕-๖ กิโลเมตร ซึ่งเมื่อเข้าไปในตัวอำเภอจะมีโรงพยาบาล ตลาด ร้านค้า ธนาคาร ร้านอินเทอร์เน็ต และสถานีรถไฟ (เส้นทางกรุงเทพ-หาดใหญ่)

สมาชิกของชุมชนวิถีไท รวมทั้งแนวร่วมจากหมู่บ้านใกล้เคียงกันรวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมทางสังคม โดยจะมีการประชุมกันเดือนละครั้งและกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ การพบกันครั้งแรกของคณะผู้ก่อตั้งที่ศูนย์แพทย์วิธีรรมภาคใต้ สวนป่านาบุญ 2 (ศูนย์หมอเขียว) จนเกิดการรวมตัวกันเพื่อการทำงานด้านการศึกษา และร่วมกันพัฒนาด้านใน(จิตวิญญาณ) เป็นแนวทางในการพัฒนาตัวเองและสังคม สมาชิกชุมชนมีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับการศึกษาทางเลือก (1-2 ครัวทำบ้านเรียน) นอกจากความรู้ด้านการศึกษาทางเลือกแล้ว สมาชิกชุมชนยังมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตามแนวทางของการแพทย์ทางเลือก(การแพทย์วิถีธรรมและธรรมชาติบำบัด) เกษตรทางเลือก สมุนไพร คณะผู้ก่อตั้งมีความตั้งใจที่จะดำเนินงานให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครจากภายนอกนั้นจะช่วยให้เกิดพลังในการเรียนรู้ และการทำงานในหลายๆ มิติต่อโครงการอีกด้วย  ทั้งยังมีกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเป็นได้ทั้งนักเรียน และคุณครู แต่ในทุกๆ กิจกรรมจำเป็นต้องมีผู้ประสานงานหรือผู้ที่คอยอำนวยความสะดวกที่เป็นผู้ใหญ่ 1 คน เพื่อไตร่ตรองและสะท้อนวิถีความคิดของแต่ละคน ในกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยลดผลสะท้อนในด้านลบ และเจตนารมณ์ที่ไม่เหมาะสม เช่น ลดอัตตะ (ego) ของแต่ละคนรวมทั้งช่วยพัฒนาจิตใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอีกด้วย

Withee Tai team

วัตถุประสงค์ของโครงการ

วัตถุประสงค์หลัก

– พัฒนาคุณภาพชีวิตบนวิถีแห่งความเป็นมนุษย์

– ส่งเสริมวิถีชุมชนแบบใหม่ ปลดปล่อยจากการครอบงำ จากแนวคิดทางสังคมที่เป็นอยู่ บนพื้นฐานครอบครัวที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

วัตถุประสงค์รอง (ความต้องการของชุมชน)

– การมีอิสระที่จะเดินตามความฝันของตนเอง

– สร้างความสัมพันธภาพที่ดีระหว่างคนในสังคม

– สร้างความเป็นหนึ่งเดียวและการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความหลากหลาย

การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานขององค์กร

ชุมชนวิถีไทมีเครือข่ายทางสังคมซึ่งค่อนข้างกว้างขวาง เช่น เครือข่ายการศึกษาทางเลือก เครือข่ายบ้านเรียนไท เครือข่ายสุขภาพทางเลือก องค์การด้านสิ่งแวดล้อม สมัชชาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เครือข่ายฝายมีชีวิต และภาคประชาสังคม และกลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่ ในอำเภอชะอวด

คุณสมบัติและจำนวนของอาสาสมัคร

อาสาสมัครที่จะสามารถเข้าร่วมในช่วงเริ่มต้นของโครงการนั้น จำนวนไม่เกิน 5 คน ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีความสามารถพิเศษใดๆ เพียงแค่มีความตั้งใจที่จะเข้าร่วมและปฏิบัติงาน

กิจกรรมหลักของอาสาสมัคร

– กิจกรรมร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนทางเลือกกับเด็กในชุมชนจำนวน 9 คน และเด็กในหมู่บ้านในตอนเย็นและวันเสาร์อาทิตย์

– ร่วมกิจกรรมประจำวันที่เป็นประโยชน์กับชุมชน เช่น เกษตรไร้สารพิษ ฟื้นฟูระบบนิเวศน์

– ร่วมงานค่ายสุขภาพกับศูนย์การเรียนรู้ตามหลักการแพทย์วิถีธรรม(หมอเขียว)และค่ายครอบครัว

– ร่วมวงสุนทรียะสนทนา(Dialogue)กับสภาชุมชนวิถีไท เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และวางแผนเพื่อทำกิจกรรมซึ่งมีการประชุมในทุกวันที่10ของเดือน

– ร่วมกันวางแผน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประเมินผลการทำงานของกลุ่มอาสาสมัครในแต่ละวัน

Clay mask
Self massage

การใช้ชีวิตประจำวันของอาสาสมัคร

มี 8 ครอบครัวหลักจาก 5 หมู่บ้าน ที่จะเป็นครอบครัวอุปถัมภ์อาสาสมัคร ซึ่งแต่ละครอบครัวจะมีความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อมข้างเคียงที่แตกต่างกัน อาสาสมัครจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของแต่ละครอบครัวนั้น ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในช่วงนั้น

ศูนย์กลางของโครงการจะอยู่ที่บ้านของครูเลียม หรือเรียกว่า “อาศรมวิถีไท (Witeetai ashram)”  ซึ่งเป็นบ้านที่สร้างจากดินเหนียว และมีไว้สำหรับต้อนรับอาสาสมัครในส่วนของการดำเนินชีวิต อาสาสมัครจะใช้ชีวิตตามวิถีของคนในแต่ละครอบครัวเหล่านี้

ตารางกิจกรรมอาสาสมัคร

วันเช้าเที่ยงบ่ายเย็น
อังคาร – ศุกร์-เรียนรู้ อยู่กับตัวเอง:กิจกรรมเชิงสุขภาพเพื่อพัฒนาหัวใจและจิตวิญญาณ   -ทำกับข้าว กิจกรรมประจำวัน, ทำกิจกรรมในโครงการ   -จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับเด็ก,ชุมชน-จัดกิจกรรมกับเด็ก กับชุมชนวงสุนทรียเสวนาเพื่อพัฒนาจิตใจและอยู่ร่วมกัน
เสาร์-อาทิตย์-เรียนรู้-อยู่กับตัวเอง:กิจกรรมเชิงสุขภาพเพื่อพัฒนาหัวใจและจิตวิญญาณ   -ทำกับข้าว กิจกรรมประจำวัน, ทำกิจกรรมในโครงการ   -จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับเด็ก,ชุมชน-จัดกิจกรรมกับเด็ก กับชุมชนสรุปกิจกรรม/วางแผนกิจกรรมร่วมกัน
จันทร์–เรียนรู้-อยู่กับตัวเอง:–ทำกับข้าว กิจกรรมประจำวัน, ทำกิจกรรมในโครงการ     ตามอัธยาศัยตามอัธยาศัยตามอัธยาศัย

ที่พัก/อุปกรณ์การนอน: พื้นที่จัดเตรียมหมอน, แผ่นปูนอนแบบบาง และมุ้งไว้ให้ อาสาสมัครควรเตรียมถุงนอนหรือแผ่นรองนอนมาเอง หากต้องการความสะดวกสบายในระหว่างอยู่ในโครงการ

อาหารระหว่างอยู่ในค่าย: อาสาสมัครประกอบอาหารร่วมกับผู้ประสานงานในศูนย์หรือครอบครัว อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำเครื่องปรุงหรืออาหารท้องถิ่นมาประกอบอาหารร่วมกับพื้นที่และอาสาสมัครคนอื่นๆได้ในระหว่างเข้าร่วมโครงการ

การซักผ้า: ซักมือ

น้้ำดื่ม น้ำใช้: พื้นที่ซื้อน้ำดื่ม จากร้านค้าในชุมชน ส่วนน้ำใช้ใช้ระบบประปาครัวเรือน

สัญญาณโทรศัพท์ :  มีสัญญาณโทรศัทพ์ใช้ทุกเครือข่าย

การแต่งกาย : การแต่งกายของอาสาสมัครเมื่ออยู่ในชุมชน ควรแต่งกายมิดชิด เพื่อการให้เกียรติคนในชุมชน เนื่องชุมชนวิถีไท เป็นชุมชนวิถีพุทธ ที่ยังคงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งการแต่งกาย เพื่อให้อาสาสมัครเป็นตัวอย่างที่ดีในการแต่งกายให้แก่เด็กในชุมชน อาสาฯควรใส่เสื้อมิดชิด กางเลยเลยเข่า หรือกางเกงขายาว หรือแต่งกายสุภาพ ตลอดการอยู่ร่วมในโครงการ.