โครงการค่ายระยะยาว เกาะสุกร
เกาะแห่งการเรียนรู้ สู่โลกกว้าง สร้างทักษะการสื่อสาร และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ณ บ้านเกาะสุกร ต.เกาะสุกร อ.ปะเหลียน จ.ตรัง
ระหว่างเดือน สิงหาคม –  มีนาคม ของทุกปี

ประวัติโครงการ

เป้าหมายของโครงการค่ายอาสาสมัครระยะยาวตำบลเกาะสุกร เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และคนในพื้นที่เรียนรู้ทักษะชีวิตของชุมชนตนเอง วิถีชีวิตดั้งเดิม ทักษะด้านภาษาอังกฤษ การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และการเปิดโอกาสเรียนรู้โลกในยุคแห่งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ผ่านการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครนานาชาติ อาสาสมัครไทย ซึ่งจะทำชาวบ้านในพื้นที่ ได้เปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้ได้กว้างขึ้น เพราะเราเชื่อว่า การศึกษา คือการเปิดโลกกว้างอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การหันกลับมาศึกษาภูมิปัญญาที่มีอยู่คู่ชุมชนและวิถีชีวิตของคนในชุมชน เป็นการสร้างแรงบันดาลใจและการใฝ่รู้ เพื่อเป็นแรงผลักดันให้ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม ได้พัฒนาทักษะการอยู่ร่วมกัน ท่ามกลางความหลากหลายและความเข้าใจกัน ได้อย่างลงตัว โดยการสร้างกระบวนการกิจกรรมกับเด็กและศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนที่ทำให้ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน
กิจกรรม
– เรียนรู้การทำนา ดำนา เกี่ยวข้าว
– การศึกษาทางเลือก โดยใช้เด็กเป็นศูนย์กลาง
– การสอนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ในตอนบ่าย-เย็น
– ภูมิปัญญาท้องถิ่น
– วิถีชีวิตของชุมและบริบทชุมชน
– วันสำคัญหรือพิธีต่างๆ

ตารางกิจกรรม

กันยายน เริ่มฤดูการทำนา. ประเพณีท้องถิ่น, อาสาสมัครเรียนรู้กระบวนการทำนา การไถนาเตรียมพื้นที่เพาะปลูก
 
กิจกรรมกับเด็ก
ตุลาคม หว่านกล้า เตรียมต้นกล้าสำหรับปลูกข้าว
ดำนา ดูแลนาข้าวกิจกรรมกับเด็กในพื้นที่เกาะสุกร
พฤศจิกายน ปลูกแตงโม เก็บเกี่ยวผลผลิต
 
ดูแลนาข้าว
กิจกรรมกับเด็ก
ธันวาคม เกี่ยวข้าว งานเปิกฟ้าอันดามัน เทศกาลประจำปีของเกาะสุกร

วัตถุประสงค์โครงการ
– เพื่อพัฒนาศักยภาพทางการเกษตร การเรียนรู้ภูมิปัญญา วิถีชีวิตของชุมชน ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการตนเองของชุมชนได้
– เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน
บริบทชุมชน
เกาะสุกรเป็นเกาะเล็กๆอยู่ฝั่งทะเลอันดามันในเขตอำเภอปะเหลียน ประกอบด้วย 4หมู่บ้านมีประชากรประมาณ 2,566 คน มีเนื้อที่ประมาณ 8,750ไร่ มีท่าเทียบเรือ 2 แห่งคือท่าเทียบเรือหาดทรายทองขึ้นฝั่งท่าตะเสะ อำเภอหาดสำราญและท่าเทียบเรือบ้านแหลมขึ้นฝั่งท่าข้าม อำเภอปะเหลียน สถานที่ราชการของเกาะสุกร มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง โรงเรียนระดับประถมศึกษา 1 โรง โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส 1 โรง มัสยิด 3 หลัง สถานีอนามัย 1 แห่ง และป้อมตำรวจ 1 แห่ง ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม สภาพพื้นที่ของเกาะสุกรมีลักษณะเป็นที่ราบสลับภูเขาเตี้ยๆมีป่าชายเลนตามแนวชายฝั่งบ้างบางพื้นที่
การประกอบอาชีพส่วนใหญ่ของคนในพื้นที่ขึ้นอยู่สภาพ ดิน ฟ้า อากาศและฤดูกาล อาชีพหลักคือการทำประมง รองลงมาคืออาชีพเกษตรกรรมได้แก่ การทำสวนยางพารา การทำนา ปลูกพืชหมุนเวียน เช่น แตงโมง ข้าวโพด ผักต่างๆ โดยเฉพาะแตงโมงถือเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของเกาะสุกรมีรสชาติอร่อย นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น ควาย วัว แพ และอาชีพรับจ้างทั่วไป
มีโรงเรียนประถม ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาล ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน เปิดสอนในระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมีโรงเรียนขยายโอกาสตั้งอยู่ในชุมชน รวมทั้งยังมีภูมิปัญญาด้านการทำประมงพื้นบ้าน วิถีชีวิตและบริบทชุมชนทางการเกษตรที่เป็นต้นทุนทางทรัพยากรที่คงคุณค่าแก่การเรียนรู้และการอนุรักษ์ไว้สืบไป

ผู้รับผิดชอบโครงการในพื้นที่

ดาหลาได้จัดส่งอาสาสมัครเข้าไปร่วมกิจกรรมกับเกาะสุกร ตั้งแต่ปี 2013 จนถึงปัจจุบัน โดยอาสาสมัครจะเข้าไปร่วมกิจกรรมกับชุมชน ภายใต้การดูแลความเป็นอยู่ของครอบรัว    ก๊ะตั๊ก (นางประนอม สมจริง) และบังเม็ง ครอบครัวอุปถัมภ์ ชาวบ้านชุมชนเกาะสุกรเชื่อว่าชุมชนและครอบครัวของเด็กและเยาวชน สามารถเป็นพื้นที่ให้เด็กๆได้เรียนรู้ทักษะชีวิต วีถีชีวิต และทุกกระบวนการเรียนรู้จากชุมชนทั้งวิถีชีวิตและบริบทชุมชนต้องเปิดโอกาสให้เด็กในพื้นที่เรียนรู้ทักษะทางด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในอนาคตและที่สำคัญการสร้างจิตสำนึกในการรักษามรดก วิถีชีวิตของชุมชนเกาะสุกรไว้

ในช่วงเดือนรอมฎอน ชุมชนมุสลิมจะมีเทศกาลถือศีลอด ชาวบ้านจะไม่มีกิจกรรมในช่วงกลางวันมากนัก อาสาสมัครสามารถเรียนรู้วิถีชีวิตของมุสลิมในช่วงถือศีลอดได้ ในชุมชนมีร้านขายของชำ ที่อาสาสมัครสามารถหาซื้อของที่จำเป็นได้ สำหรับการซื้อของอื่นๆที่ไม่มีขายในชุมชน อาสาสมัครสามารถเข้าไปซื้อของ ติดต่อธนาคาร ใช้อินเตอร์เน็ต หรือติดต่อโรงพยาบาล ในตัวเมืองย่านตาขาวและตัวอำเภอเมืองตรัง โดยอาสาสมัครต้องติดต่อผู้ดูแลโครงการเพื่ออำนวยความสะดวกให้ กรณีที่ต้องออกไปในตัวเมือง
อาหาร
จะต้องทำอาหารด้วยตัวเอง สามารถออกทะเลไปหาอาหารกับชาวบ้านได้ หรือซื้ออาหารในร้านของหมู่บ้านได้เช่นกัน

ที่พัก

พักบ้านจ๊ะตั๊กและบังเม็ง (ครอบครัวอุปถัมภ์) เป็นบ้านไทยในท้องถิ่นทั่วไป

ซักผ้า
ซักผ้ากับมือ กรุณานำผงซักฟอกมาเอง
ห้องน้ำ
มีห้องน้ำสำหรับอาสาสมัคร 2 ห้อง สามารถใช้ส้วมและอาบน้ำในห้องเดียวกัน

การเดินทางไปเกาะสุกร
จากสถานีรถไฟตรัง – สถานีรถตู้โดยสารตรัง – ย่านตาขาว รถตุ๊ก ๆ หรือมอเตอร์ไซด์รับจ้างราคาแล้วแต่ตกลง ค่าโดยสารรถตู้จากตรัง – อำเภอย่านตาขาว คนละ 30 บาท ค่าโดยสารรถสองแถวจากอำเภอย่านตาขาวไปท่าเรือตะเสะที่จะเดินทางไปเกาะสุกรคนละ 30 บาท (รถเที่ยวสุดท้ายประมาณบ่ายโมง) ค่าเรือโดยสารจากฝั่งไปเกาะคนละ 30 บาท (ถ้าเหมาเที่ยวละ 240 บาท) ค่ารถโดยสารบนเกาะจากท่าเรือถึงที่พักคนละ 40 บาท


การติดต่อสื่อสาร
สัญญาณโทรศัพท์ใช้ได้ทุกเครือข่าย

ชุมชนวิถีไท อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ: 1601MLTV
ประเภทอาสาสมัคร : ระยะกลางและระยะยาว (ตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป)
จำนวนอาสาสมัครที่รับได้  4 คน

ช่วงเวลาที่เปิดรับ : เริ่มรับอาสาสมัครตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 เป็นต้นไป-รับอาสาสมัครตลอดทั้งปี

ประวัติโครงการ

ชุมชนวิถีไทเริ่มต้นจากการการรวมตัวกันของครอบครัวที่ทำกิจกรรมทางสังคม ประมาณ 2-3 ครอบครัว โดยมีจุดมุ่งหมายปลดปล่อยตัวเองจากความเป็นทาส จากการถูกครอบงำ ทางการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง และสุขภาพ โดยเฉพาะทาสจากอัตตาตัวเอง โดยเริ่มจากการทำการศึกษาทางเลือกเพื่อความเป็นไท ให้กับลูก ๆ ของสมาชิกชุมชน และสมาชิกชุมชนท้องถิ่นอื่นๆ ที่สนใจเข้าร่วมด้วย

ขณะเดียวกันชุมชนวิถีไท มีความต้องการที่จะรับอาสาสมัคร เพื่อมาเรียนรู้ร่วมกันในการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยการศึกษาทางเลือก ที่มีจุดหมายเพื่อการหลอมรวมเป็นครอบครัวเดียวกัน และสร้างความสัมพันธ์ที่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกันกับผู้คนและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

ชุมชนวิถีไทพยายามที่จะปลดปล่อยตัวเองจากความเป็นทาสโดยเฉพาะอย่างยิ่งทาสทางจิตวิญญาณหรืออัตตา ด้วยกิจกรรมทางสังคมซึ่งเป็นรากฐานของการสร้างชุมชนใหม่ ผ่านกิจกรรมการงานในวิถีชีวิตประจำวันเพื่อพัฒนาด้านจิตวิญญาณ

Withee tai members in discussion

สภาพแวดล้อมชุมชน ประวัติศาตร์ชุมชน และที่มาของโครงการ

อำเภอชะอวดเป็นอำเภอหนึ่งทางด้านทิศใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาบรรทัดและทะเลจีนใต้ ในพื้นที่ประกอบด้วยป่า พื้นที่ป่าพรุ คลอง สวนยาง สวนปาล์ม นาข้าว และสวนผักอื่นๆ คนในพื้นที่ทำหัตถกรรมจากกระจูด คล้า ไม้ไผ่ นอกจากนี้พวกเขายังมีการละเล่นพื้นเมืองอย่างโนราห์ และหนังตะลุงอีกด้วย

บ้านท่าสะท้อน เป็นหมู่บ้านที่ครูเลี่ยมอาศัยอยู่ ระยะทางจากหมู่บ้านไปยังตัวอำเภอประมาณ ๕-๖ กิโลเมตร ซึ่งเมื่อเข้าไปในตัวอำเภอจะมีโรงพยาบาล ตลาด ร้านค้า ธนาคาร ร้านอินเทอร์เน็ต และสถานีรถไฟ (เส้นทางกรุงเทพ-หาดใหญ่)

สมาชิกของชุมชนวิถีไท รวมทั้งแนวร่วมจากหมู่บ้านใกล้เคียงกันรวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมทางสังคม โดยจะมีการประชุมกันเดือนละครั้งและกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ การพบกันครั้งแรกของคณะผู้ก่อตั้งที่ศูนย์แพทย์วิธีรรมภาคใต้ สวนป่านาบุญ 2 (ศูนย์หมอเขียว) จนเกิดการรวมตัวกันเพื่อการทำงานด้านการศึกษา และร่วมกันพัฒนาด้านใน(จิตวิญญาณ) เป็นแนวทางในการพัฒนาตัวเองและสังคม สมาชิกชุมชนมีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับการศึกษาทางเลือก (1-2 ครัวทำบ้านเรียน) นอกจากความรู้ด้านการศึกษาทางเลือกแล้ว สมาชิกชุมชนยังมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตามแนวทางของการแพทย์ทางเลือก(การแพทย์วิถีธรรมและธรรมชาติบำบัด) เกษตรทางเลือก สมุนไพร คณะผู้ก่อตั้งมีความตั้งใจที่จะดำเนินงานให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครจากภายนอกนั้นจะช่วยให้เกิดพลังในการเรียนรู้ และการทำงานในหลายๆ มิติต่อโครงการอีกด้วย  ทั้งยังมีกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเป็นได้ทั้งนักเรียน และคุณครู แต่ในทุกๆ กิจกรรมจำเป็นต้องมีผู้ประสานงานหรือผู้ที่คอยอำนวยความสะดวกที่เป็นผู้ใหญ่ 1 คน เพื่อไตร่ตรองและสะท้อนวิถีความคิดของแต่ละคน ในกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยลดผลสะท้อนในด้านลบ และเจตนารมณ์ที่ไม่เหมาะสม เช่น ลดอัตตะ (ego) ของแต่ละคนรวมทั้งช่วยพัฒนาจิตใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอีกด้วย

Withee Tai team

วัตถุประสงค์ของโครงการ

วัตถุประสงค์หลัก

– พัฒนาคุณภาพชีวิตบนวิถีแห่งความเป็นมนุษย์

– ส่งเสริมวิถีชุมชนแบบใหม่ ปลดปล่อยจากการครอบงำ จากแนวคิดทางสังคมที่เป็นอยู่ บนพื้นฐานครอบครัวที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

วัตถุประสงค์รอง (ความต้องการของชุมชน)

– การมีอิสระที่จะเดินตามความฝันของตนเอง

– สร้างความสัมพันธภาพที่ดีระหว่างคนในสังคม

– สร้างความเป็นหนึ่งเดียวและการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความหลากหลาย

การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานขององค์กร

ชุมชนวิถีไทมีเครือข่ายทางสังคมซึ่งค่อนข้างกว้างขวาง เช่น เครือข่ายการศึกษาทางเลือก เครือข่ายบ้านเรียนไท เครือข่ายสุขภาพทางเลือก องค์การด้านสิ่งแวดล้อม สมัชชาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เครือข่ายฝายมีชีวิต และภาคประชาสังคม และกลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่ ในอำเภอชะอวด

คุณสมบัติและจำนวนของอาสาสมัคร

อาสาสมัครที่จะสามารถเข้าร่วมในช่วงเริ่มต้นของโครงการนั้น จำนวนไม่เกิน 5 คน ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีความสามารถพิเศษใดๆ เพียงแค่มีความตั้งใจที่จะเข้าร่วมและปฏิบัติงาน

กิจกรรมหลักของอาสาสมัคร

– กิจกรรมร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนทางเลือกกับเด็กในชุมชนจำนวน 9 คน และเด็กในหมู่บ้านในตอนเย็นและวันเสาร์อาทิตย์

– ร่วมกิจกรรมประจำวันที่เป็นประโยชน์กับชุมชน เช่น เกษตรไร้สารพิษ ฟื้นฟูระบบนิเวศน์

– ร่วมงานค่ายสุขภาพกับศูนย์การเรียนรู้ตามหลักการแพทย์วิถีธรรม(หมอเขียว)และค่ายครอบครัว

– ร่วมวงสุนทรียะสนทนา(Dialogue)กับสภาชุมชนวิถีไท เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และวางแผนเพื่อทำกิจกรรมซึ่งมีการประชุมในทุกวันที่10ของเดือน

– ร่วมกันวางแผน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประเมินผลการทำงานของกลุ่มอาสาสมัครในแต่ละวัน

Clay mask
Self massage

การใช้ชีวิตประจำวันของอาสาสมัคร

มี 8 ครอบครัวหลักจาก 5 หมู่บ้าน ที่จะเป็นครอบครัวอุปถัมภ์อาสาสมัคร ซึ่งแต่ละครอบครัวจะมีความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อมข้างเคียงที่แตกต่างกัน อาสาสมัครจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของแต่ละครอบครัวนั้น ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในช่วงนั้น

ศูนย์กลางของโครงการจะอยู่ที่บ้านของครูเลียม หรือเรียกว่า “อาศรมวิถีไท (Witeetai ashram)”  ซึ่งเป็นบ้านที่สร้างจากดินเหนียว และมีไว้สำหรับต้อนรับอาสาสมัครในส่วนของการดำเนินชีวิต อาสาสมัครจะใช้ชีวิตตามวิถีของคนในแต่ละครอบครัวเหล่านี้

ตารางกิจกรรมอาสาสมัคร

วันเช้าเที่ยงบ่ายเย็น
อังคาร – ศุกร์-เรียนรู้ อยู่กับตัวเอง:กิจกรรมเชิงสุขภาพเพื่อพัฒนาหัวใจและจิตวิญญาณ   -ทำกับข้าว กิจกรรมประจำวัน, ทำกิจกรรมในโครงการ   -จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับเด็ก,ชุมชน-จัดกิจกรรมกับเด็ก กับชุมชนวงสุนทรียเสวนาเพื่อพัฒนาจิตใจและอยู่ร่วมกัน
เสาร์-อาทิตย์-เรียนรู้-อยู่กับตัวเอง:กิจกรรมเชิงสุขภาพเพื่อพัฒนาหัวใจและจิตวิญญาณ   -ทำกับข้าว กิจกรรมประจำวัน, ทำกิจกรรมในโครงการ   -จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับเด็ก,ชุมชน-จัดกิจกรรมกับเด็ก กับชุมชนสรุปกิจกรรม/วางแผนกิจกรรมร่วมกัน
จันทร์–เรียนรู้-อยู่กับตัวเอง:–ทำกับข้าว กิจกรรมประจำวัน, ทำกิจกรรมในโครงการ     ตามอัธยาศัยตามอัธยาศัยตามอัธยาศัย

ที่พัก/อุปกรณ์การนอน: พื้นที่จัดเตรียมหมอน, แผ่นปูนอนแบบบาง และมุ้งไว้ให้ อาสาสมัครควรเตรียมถุงนอนหรือแผ่นรองนอนมาเอง หากต้องการความสะดวกสบายในระหว่างอยู่ในโครงการ

อาหารระหว่างอยู่ในค่าย: อาสาสมัครประกอบอาหารร่วมกับผู้ประสานงานในศูนย์หรือครอบครัว อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำเครื่องปรุงหรืออาหารท้องถิ่นมาประกอบอาหารร่วมกับพื้นที่และอาสาสมัครคนอื่นๆได้ในระหว่างเข้าร่วมโครงการ

การซักผ้า: ซักมือ

น้้ำดื่ม น้ำใช้: พื้นที่ซื้อน้ำดื่ม จากร้านค้าในชุมชน ส่วนน้ำใช้ใช้ระบบประปาครัวเรือน

สัญญาณโทรศัพท์ :  มีสัญญาณโทรศัทพ์ใช้ทุกเครือข่าย

การแต่งกาย : การแต่งกายของอาสาสมัครเมื่ออยู่ในชุมชน ควรแต่งกายมิดชิด เพื่อการให้เกียรติคนในชุมชน เนื่องชุมชนวิถีไท เป็นชุมชนวิถีพุทธ ที่ยังคงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งการแต่งกาย เพื่อให้อาสาสมัครเป็นตัวอย่างที่ดีในการแต่งกายให้แก่เด็กในชุมชน อาสาฯควรใส่เสื้อมิดชิด กางเลยเลยเข่า หรือกางเกงขายาว หรือแต่งกายสุภาพ ตลอดการอยู่ร่วมในโครงการ.

ชื่อศูนย์ : บ้านหลังอ้ายหมี

กิจกรรมกับเด็ก และอนุรักษ์ป่า 
รหัสโครงการ: DaLaa 1704MLTV 
รูปแบบค่าย: ค่ายระยะกลาง (2-6เดือน

ต.วังอ่าง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

ระยะเวลาโครงการ : เปิดรับทั้งปี (หยุดเฉพาะปิดเทอม มีนาคม- เมษายน และตุลาคม)

บริบทชุมชน

ชุมชนหลังอ้ายหมีเป็นพื้นที่ที่ล้อมรอบไปด้วยภูเขา และอยู่ในพื้นที่ห่างไกลทางภาคใต้ของประเทศไทย ทางชุมชนต้องการพลังของอาสาสมัครมาช่วยเสริมความเป็นหนึ่งเดียวของธรรมชาติและวิถีชุมชน จุดที่ตั้งของชุมชนหลังอ้ายหมีนั้นเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำชะอวด ดังนั้นในสมาชิกในชุมชนจึงช่วยกันรับผิดชอบที่จะทำให้ป่าต้นน้ำมีความสะอาด เพื่อให้น้ำได้ไหล และเป็นประโยชน์ต่อไป

สมาชิกในชุมชนหลังอ้ายหมีนั้น ได้ต่อสู้กับภาครัฐ เพราะว่าทางภาครัฐต้องการประกาศพื้นที่ส่วนนี้ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ และต้องการไล่คนในชุมชนให้ออกไปจากพื้นที่ นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้คนในชุมชนมีความแข็งแกร่งและสามัคคีกันเป็นหนึ่งเดียว

ปัจจุบันนี้ สมาชิกในชุมชนยังคงมีกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่และดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ในชุมชนยังมีศูนย์การเรียนรู้ที่มีพระเทพฯ ทรงเป็นผู้สนับสนับให้ทรงสร้างขึ้นโดยตำรวจตะเวนชายแดน และทางศูนย์ก็มีการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้เพื่อแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมอีกด้วย

สภาพทั่วไปของชุมชน และที่มาของโครงการ

หลังอ้ายหมีนั้นเป็นชุมชนที่ล้อมรอบด้วยภูเขา อยู่ในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช และตั้งอยู่บนเทือกเขาบรรทัด พื้นที่ชุมชนเป็นป่าต้นน้ำซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำชะอวด แม่น้ำชะอวดนี้ไหลลงไปยังทะเลจีนทางอำเภอปากพะนัง

ใน พ.ศ 2506 ได้มีคนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่นี้ ในบริเวณนี้สามารถปลูกยางพาราและผลไม้หลายชนิดได้ดี หนึ่งในผู้ก่อตั้งชื่อว่า “หมี” และชาวบ้านก็ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อของเขา ในปี พ.ศ.2515 รัฐบาลได้ประกาศให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และก็พยายามไล่พื้นที่ของคนในชุมชนที่อาศัยอยู่ โดยได้กล่าวหาว่าคนในชุมชนนี้ได้ใช้และทำลายทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่แห่งนี้ (เป็นรัฐบาลเดียวกันกับที่อนุญาตให้กลุ่มนายทุนเข้ามารับสัมปทานพื้นที่ป่า และขายต้นไม้ออกนอกประเทศ) นับตั้งแต่ช่วงเวลานั้น ทางชาวบ้านมากกว่า 60 ครอบครัวก็ได้รวมตัวกันเพื่อต่อสู้และพิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขานั้น ไม่รุกรานและอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสันติสุข หลายต่อหลายครั้งทางชุมชนมีกิจกรรมอาสาสมัครต่างๆ ที่ทำให้ชุมชนนั้นรัก ผูกพัน และรับผิดชอบต่อธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

ในปีพ.ศ. 2545 พวกเขาได้ก่อตั้งกลุ่ม “รักป่าต้นน้ำ” มีสมาชิกทั้งสิ้น 157 ครอบครัว หรือราวๆ 463 คน ทางกลุ่มได้มีข้อตกลงร่วมกันที่จะดูแลรักษาป่า สัตว์ป่า น้ำ ต้นไม้ และจัดกิจกรรมร่วมกัน

ในปีพ.ศ. 2557 ตำรวจชายเดนได้ริเริ่มการสอนภายในโรงเรียนเพื่อที่จะให้เด็กๆ ได้รับการเรียนการสอนตลอดทั้งปี โดยในปี พ.ศ. 2558-2559 อาสาสมัครจากดาหลาและศูนย์จากร้อยหวันพันป่า ได้เข้าไปร่วมกิจกรรมกับเด็กที่โรงเรียนอยู่เรื่อยๆ หลังจากที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสมเด็จพระเทพฯ และผู้บริจาคอื่นๆ จึงมีการสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหลังอ้ายหมีได้สำเร็จ

ที่มาของโครงการ

ในปีพ.ศ. 2557 ตำรวจชายเดนได้ริเริ่มการสอนภายในโรงเรียนเพื่อที่จะให้เด็กๆ ได้รับการเรียนการสอนตลอดทั้งปี โดยในปี พ.ศ. 2558-2559 อาสาสมัครจากดาหลาและศูนย์จากร้อยหวันพันป่า 2 ได้เข้าไปร่วมกิจกรรมกับเด็กที่โรงเรียนอยู่เรื่อยๆ หลังจากที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสมเด็จพระเทพฯ และผู้บริจาคอื่นๆ จึงมีการสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหลังอ้ายหมีได้สำเร็จ

หลังจากที่ศูนย์ร้อยหวันพันป่าได้ปิดตัวลงในปี พ.ศ. 2559 สมาชิกของชุมชนหลังอ้ายหมีอย่างพี่คม และอาจารย์อย่างอยู่ปราการได้ติดต่อและสนใจที่จะรับอาสาสมัครมาต่อยอดโครงการในชุมชนหลังอ้ายหมีต่อไป  โดยจะเน้นกิจกรรมกับเด็กในโรงเรียนระดับประถม และกิจกรรมอนุรักษ์ป่า

จุดประสงค์ของโครงการ

– เพื่อสนับสนุนและสร้างแรงขับเคลื่อนในด้านการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม

– เพื่อส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ

– เพื่อให้เด็กๆ และคนในชุมชนเกิดความคุ้นชินกับอาสาสมัครต่างชาติ รวมทั้งให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่หลากหลายอีกด้วย

– เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนหลังอ้ายหมี

กิจกรรม

– กิจกรรมกับเด็กในโรงเรียนประถม (เกมส์ เพลง สอนคำศัพท์)

– กิจกรรมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ เพาะชำต้นไม้ในท้องถิ่น

– ทำฝายน้ำ (ฝายชะลอน้ำ) สำรวจป่าต้นน้ำ

– แลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม

– กิจกรรมกับชุมชน (เกี่ยวกับการปลุกผลไม้ ยางพารา และงานจักสาน)

ที่พัก และอุปกรณ์ที่จำเป็น
ที่พัก อาสาสมัครจะพักรวมกันในบ้านพักอาสาสมัครของชุมชน มีห้องน้ำภายในบ้าน
อาหาร อาสาสมัครจัดเตรียมทำอาหารกันเอง และมีคนในชุมชนมาช่วยกันทำบ้างเป็นบางมื้อ
ซักผ้า ซักผ้าด้วยมือ

สัญญาณโทรศัพท์ DTAC และ TRUE มีสัญญาณ เฉพาะในโรงเรียน

 

 

บ้านโคกโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัด พัทลุง

ภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์, กิจกรรมกับเด็กและชุมชน

รหัสโครงการ: DaLaa 1901MTV
รูปแบบค่าย: ค่ายระยะกลาง (2-6 เดือน)
จำนวนอาสาสมัครไทยที่เปิดรับ ; 2
ช่วงเวลาที่เปิดรับอาสาสมัคร :เปิดรับทั้งปี (หยุดเฉพาะปิดเทอม มีนาคม- เมษายน และตุลาคม)

ประวัติโครงการ

โรงเรียนวัดโพธาวาส เป็นโรงเรียนระดับประถมขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่ บ้านโคกโพธิ์ หมู่ที่ 10 ตำบล ท่าแค อำเมือง จังหวัด พัทลุง  เปิดสอน ในระดับ อนุบาล ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมีนักเรียน 49 คน คุณครู 7 คน ทางดาหลาได้รับการติดต่อจาก ทางโรงเรียนเรื่องต้องการอาสาสมัครเพื่อไปทำกิจกรรมด้านภาษา และกิจกรรมเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก ๆ พื้นฐานด้านภาษาอังกฤษของเด็ก ค่อยข้างต่ำกว่าเกณฑ์เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นเรื่องไกลตัว เด็ก ไม่มีโอกาสได้ใช้จริงในชีวิตประจำวัน ทางดาหลาเลยต้องการให้กิจกรรมในครั้งนี้ เปิดโอกาสให้ เด็ก และคุณครูได้มีโอกาสได้เจอชาวต่างชาติ และอาสาสมัคร เพื่อที่จะได้ กล้าพูด และทำความคุ้นเคยกับชาวต่างชาติ เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร

ประวัติความเป็นมาและสภาพทั่วไปของชุมชน

โรงเรียนวัดโพธาวาส เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา ตั้งอยู่ที่ หมู่ 10 บ้านโคกโพธิ์ตำบล ท่าแค อำเภอเมือง จังหวัด พัทลุง ตั้งอยู่ในชุมชนพุทธ พื้นที่โรงเรียนอยู่ในบริเวณเดียวกับวัดโพธาวาส ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน โรงเรียนมีอายุ 50 ปี        ก่อตั้งโดยพระครูโพธาภิรม ซึ่งเป็น เจ้าอาวาสวัดโพธาวาส  เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม มีเนื้อที่ 10 ไร่ 1 งาน

สภาพที่ตั้งของชุมชนบ้านโคกโพธิ์ เป็นพื้นที่ราบ ชาวบ้านมีอาชีพหลากหลาย ได้แก่ ทำนา ทำสวน ประมาณร้อยละ 60 และอาชีพรับจ้าง ค้าขาวประมาณร้อยละ 20 และ บางส่วน รับราชการ ทำงานลูกจ้าง ทั่วไป

ที่มาของโครงการ

ทางสมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา) ได้ได้รับการติดต่อจาก ผอ. ฉันทนา มิตรเปรียญ หรือ ผอ.ปิ่น  ซึ่งได้ทราบข่าวการทำงานของสมาคมจากน้าเอียด (โรงเรียนบ้านใต้ร่มไม้)     ซึ่งเคยร่วมกิจกรรมกับทางดาหลามาก่อน  โดย ผอ. ปิ่น ได้ติดต่อกับสมาคมฯ เพื่อร่วมดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา โดยให้เด็กได้ใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ผ่านการทำกิจกรรมที่มีความหลากหลาย  โดยการดึงอาสาสมัคร นานาชาติไปดำเนินการในการนำกระบวนการกิจกรรม ทำให้เด็กได้ฝึกกระบวนการฟัง คิด พูด อ่าน เขียน และสามารถแลกเปลี่ยนภาษา และวัฒนธรรมกับอาสาสมัครนานาชาติได้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กๆ ในโรงเรียนได้มีโอกาสเรียนพูด  และฝึกการใช้ภาษาจากชาวต่างชาติและอาสาสมัครไทย และเพื่อเป็นการเปิดมุมมองด้านภาษาให้กับเด็กๆ  ไม่ให้ตื่น กลัวในการพูด ภาษาต่างชาติ พื้นฐานด้านภาษาอังกฤษของเด็กๆ ค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ เนื่องจากไม่มีโอกาส ได้ใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน

วัสถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษให้กับเด็ก และผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก และผู้ที่ร่วมกิจกรรมได้ตระหนักถึงงานอาสา

 3. เพื่อเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรมที่หลากหลาย

คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมในการเข้าร่วมโครงการ

1. สามารถใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนได้

2. ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้

3. มีจิตอาสา และรับได้ถึงวิถีชีวิต การกิน นอน ที่ไม่สะดวกสบายเหมือนที่บ้าน

4. มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ

5. ไม่ยึดติดกับโลกออนไลน์

ณ สวนลมหายใจอันสงัด ต. คุ้งกระถิน อ.เมือง จ. ราชบุรี

สอนภาษาอังกฤษและศิลปะในโรงเรียน เกษตรอินทรีย์ และทำกิจกรรมกับชุมชน

รหัสโครงการ: DaLaa 1902MTV
จำนวนอาสาสมัครไทยที่เปิดรับ ; 2
ช่วงเวลาที่เปิดรับอาสาสมัคร :ค่ายเริ่มต้นระยะเวลา 2 เดือน  ตั้งแต่ 6 พฤษภาคมถึง 31 สิงหาคม 2019

ประวัติโครงการ

สวนลมหายใจอันสงัดมีสมาชิกในครอบครัวอยู่ 3 คน มีความสนใจในเรื่องการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนมันคือกระบวนการที่ใช้ในทำงานเพื่อไปข้างหน้า ในกระบวนการนี้ได้ทำงานกับชุมชนเพื่อพัฒนางานชุมชน และยังทำงานกับเครือข่ายอาสาสมัครในเมืองไทย อีกทั้งยังทำงานกับกลุ่มคนหลากหลายที่มีความคิดและจุดมุ่งหมายเหมือนกัน ในพื้นที่ของชุมชน รวมถึงยังทำงานกับโรงเรียนและเด็ก ๆ รวมทั้งอาสาสมัครที่เกี่ยวเนื่องกับงานด้านสิ่งแวดล้อม

โดยทางครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ในสวนในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาและเริ่มปลูกต้นไม้และสร้างบ้านด้วยตัวเองยินดีต้อนรับอาสาสมัครและผู้มาเยี่ยมชม ได้เริ่มต้นในการสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนในท้องถิ่นไม่กี่ครั้งและดูความต้องการในการพัฒนาชุมชน เพื่อต้องการที่จะส่งเสริมการศึกษาทางเลือก, การพึ่งพาตนเองและการทำงานกับไทยและอาสาสมัครชาวต่างชาติที่จะปรับปรุงชีวิตของชุมชนและสังคม

จุดประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อสนับสนุนเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นให้สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติและเรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม

2. เพื่อปรับปรุงการรับรู้ตนเองของเด็กและคนหนุ่มสาว และให้พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อแสดงออก

3. เพื่อสร้างพื้นที่เปิดสำหรับการทำเกษตรอินทรีย์สู่ชุมชนระบบนิเวศที่พึ่งพาตนเองได้

กิจกรรม

– อาสาสมัครจะจัดบทเรียนและเกมภาษาอังกฤษและศิลปะให้กับเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา (อายุ 7 ถึง 12 ปี) ทั้งที่โรงเรียนชุมชน (2-3 วันต่อสัปดาห์) และที่สวนลมหายใจอันสงัด

– อาสาสมัครจะทำงานศิลปะในบ้านดิน เราได้สร้างบ้านดิน 2 หลังและห้องสมุด 1 หลัง ตอนนี้เรากำลังสร้างอาคารทำสมาธิขนาดใหญ่และบ้านของครอบครัวรวมถึงบ้านอาสาอีกแห่งหนึ่งจากดิน

– อาสาสมัครจะปลูกผักและปลูกต้นไม้รดน้ำใส่ปุ๋ยหมักและเก็บผลไม้เช่นกล้วยและมะม่วง

คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมในการเข้าร่วมโครงการ

1. สามารถใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนได้

2. ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้

3. มีจิตอาสา และรับได้ถึงวิถีชีวิต การกิน นอน ที่ไม่สะดวกสบายเหมือนที่บ้าน

4. มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ

5. ไม่ยึดติดกับโลกออนไลน์

ที่พัก/อุปกรณ์การนอน: พื้นที่จัดเตรียมหมอน, แผ่นปูนอนแบบบาง และมุ้งไว้ให้ อาสาสมัครควรเตรียมถุงนอนหรือแผ่นรองนอนมาเอง หากต้องการความสะดวกสบายในระหว่างอยู่ในโครงการ

อาหารระหว่างอยู่ในค่าย: อาสาสมัครประกอบอาหารร่วมกับผู้ประสานงานในศูนย์หรือครอบครัว อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำเครื่องปรุงหรืออาหารท้องถิ่นมาประกอบอาหารร่วมกับพื้นที่และอาสาสมัครคนอื่นๆได้ในระหว่างเข้าร่วมโครงการ

การซักผ้า: ซักมือ

น้้ำดื่ม น้ำใช้: พื้นที่ซื้อน้ำดื่ม จากร้านค้าในชุมชน ส่วนน้ำใช้ใช้ระบบประปาครัวเรือน

สัญญาณโทรศัพท์ :  มีสัญญาณโทรศัทพ์ใช้ทุกเครือข่าย

การแต่งกาย : การแต่งกายของอาสาสมัครเมื่ออยู่ในชุมชน ควรแต่งกายมิดชิด เพื่อการให้เกียรติคนในชุมชน เนื่องชุมชนวิถีไท เป็นชุมชนวิถีพุทธ ที่ยังคงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งการแต่งกาย เพื่อให้อาสาสมัครเป็นตัวอย่างที่ดีในการแต่งกายให้แก่เด็กในชุมชน อาสาฯควรใส่เสื้อมิดชิด กางเลยเลยเข่า หรือกางเกงขายาว หรือแต่งกายสุภาพ ตลอดการอยู่ร่วมในโครงการ.